วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

Phrase (วลี)

Phrase (วลี)
วลี ได้แก่ กลุ่มคำที่มีความหมาย แต่ไม่ใช่ประโยค (sentence) หรือ อนุประโยค (clause) ในแง่ของไวยากรณ์ Phrase (วลี) คือ กลุ่มคำที่ไม่ใช่เพียงแค่มีความหมายเท่านั้น แต่มีสถานะในเชิงไวยากรณ์อีกด้วย วลีนั้นๆอาจมีสถานะเป็นคำประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจัดอยู่ในส่วนต่างๆของคำพูด (parts of speech) กล่าวคือ วลีดังกล่าวนั้น อาจจะมีหน้าที่เป็นคำนาม (noun), คำคุณศัพท์ (adjective), คำกริยาวิเศษณ์ (adverb), หรือ คำกริยา (verb) เป็นต้น อยู่ในประโยคนั้นๆ
ในที่นี้ เราจะมีศึกษาคำกริยาวลีหลักๆ 4 ประเภท ได้แก่
  • นามวลี (noun phrase)
  • คุณศัพท์วลี (adjective phrase)
  • กริยาวิเศษณ์วลี (adverbial phrase)
  • กริยาวลี (verb phrase)

นามวลี (noun phrase) สามารถทำหน้าที่ในเชิงไวยากรณ์ ดังต่อไปนี้:

  1. ประธานของประโยค เช่น
  • My younger sister is arriving tomorrow.
  • The new supermarket opens tomorrow.

2.กรรมของกริยา เช่น

  • I found a map of Prague in the dest.
  • I've lost my bunch of keys.

3. กรรมของคำบุพบท เช่น

  • I number of charities focus on child poverty.
  • He arrived home with a cut knee.

4. เป็นส่วนเติมเต็มของกริยาที่ใช้เชื่อมต่อกัน (linking verb) หรือ เป็นส่วนเติมเต็มกรรมที่อยู่หลังกริยาที่เรียกหากรรม (transitive verb) เช่น

  • Several of my friends were members of the choir.
  • You've made me the proudest father in the world.

คุณศัพท์วลี (adjectival phrase) ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) เพื่ออธิบายหรือขยายคุณลักษณะของคำนาม (noun) หรือ คำสรรพนาม (pronoun) ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราอาจพบคุณศัพท์วลีในตำแหน่งต่างๆดังต่อไปนี้

  1. อยู่ก่อนคำนาม เช่น
  • an absolutely terrible experience. (ประสบการณ์ที่แย่สุดขีด)
  • on-the-spot reporting. (การรายงาน ณ.บริเวณที่เกิดเหตุ)
  • one-day-old chicks. (ลูกไก่ (เป็ด หรือ ลูกนก เป็นต้น) ที่มีอายุ 1 วัน)

2. อยู่หลังคำนาม หรือสรรพนาม เช่น

  • anybody with any common sense.
  • a letter from the landlord.

3. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของ linking verb หรือ เป็นส่วนเต็มเต็มกรรม (object compliment) เช่น

  • The baby is sound asleep.
  • You've made me extremely pround.

กริยาวิเศษณ์วลี (adverbial phrase) ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ (adverb) และสามารถใช้ในลักษณะต่างๆดังต่อไปนี้คือ

  1. ทำหน้าที่อธิบาย หรือขยายคำกริยาให้เด่นชัด หรือชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
  • He died very peacefully.
  • He died among his loved ones.
  • I'll see you this evening.
  • Books lay all over the floor.
  • The work was completed in less than a month.

2. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม linking verb หรือทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มกรรม เช่น

  • Jack is at school.
  • Joe seems in excellent form.
  • Amy imagines herself in the height of fashion.
  • You think me out of touch, don't you?

3. ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ขยายประโยคนั้นๆ (sentence adverb) เช่น

  • In my opinion, Brian should have returned to Ireland.
  • In the first place, we haven't enough cash.
  • In conclusion, I would say that the enterprise was a moderate success.
  • Kenneth is still a child, in a way.
  • To a certain extent, you're right.
  • At the end of the day it's the audience enjoyment that counts.
  • To my dismay, Kay refused my invitation.
  • To be honest, I was quite relieved.

กลุ่มคำกริยา (verb phrase) ที่ประกอบกันมากกว่า 1 คำ โดยทั่วๆไปมักจะเป็นพวกกริยาช่วย หรือ modal verb รวมกันเข้ากับกริยาหลัก แต่ทั้งนี้อาจจะมีคำกริยาช่วยมากกว่า 1 คำก็ได้ เช่น

  • I have finished.
  • Should we warm them?
  • You might have been badly injured.
  • Jim had been studying very hard.
  • We shall soon be arriving in Singapore.
  • She must have forgotten.

ไม่มีความคิดเห็น: